อุบลฯระวัง !!! โรครากเน่า โคนเน่า และโรคผลเน่า (เชื้อรา Rhizoctonia sp)

            วันนี้ (11 มิ.ย.64) นาย กมล โสพัฒน์ เกษตรจังหวัดลพบุรี รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี แจ้งให้เกษตรผู้ปลูกทุเรียนหมั่นสำรวจแปลงทุเรียนและเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบไหม้ ช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงเหมาะแก่การระบาดของโรคใบติดทุเรียน ลักษณะอาการของโรค ในเพสลาดที่เป็นโรคจะมีจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นสีน้ำตาลอ่อนและแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้นอาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้าน ปลายใบ กลางใบ หรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยืดอยู่เป็นแผง และเส้นใยของเชื้อรา สามารถทำลายใบที่อยู่ติดกันได้ เชื้อราไรซ๊อคโทเนียสามารถแพร่กระจาย โดยใบที่เป็นโรคร่วงหล่นไปตกค้างอยู่กับใบอ่อนที่อยู่ในตำแหน่งถัดลงมาและบริเวณโคนต้นทำให้เกิดแหล่งสะสมของเชื้อราที่จะแพร่กระจ่ายต่อไป
สนง.เกษตรจังหวัดอุบลฯ/แหล่งข่าว
ศรีสมร บุญวิจิตร/ข่าว
กมลพร คำนึง/บก.ข่าว
          
 


image รูปภาพ
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar